วิสัยทัศน์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อนวัตกรรมและสังคม ที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ
และเป็นกลไกหลักในการพัฒนาภาคใต้และประเทศ มุ่งสู่มหาวิทยาลัยชั้นนำ1ใน5ของอาเชียน ภายในปี พ.ศ.2570
พันธกิจ
พันธกิจ1:สร้างความเป็นผู้นําทางวิชาการและนวัตกรรม
โดยมีการวิจัยเป็นฐานเพื่อการพัฒนาภาคใต้และประเทศ
เชื่อมโยงสู่สังคมและเครือข่ายสากล
พันธกิจ2:สร้างบัณฑิตที่มีสมรรถนะทางวิชาการและวิชาชีพ
ซื่อสัตย์ มีวินัย ใฝ่ปัญญา จิตสาธารณะและทักษะในศตวรรษที่21สามารถประยุกต์ความรู้บนพื้นฐานประสบการณ์จากการปฏิบัติ
พันธกิจ3:พัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นสังคมฐานความรู้บนพื้นฐานพหุวัฒนธรรม
และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
โดยให้ผู้ใฝ่รู้ได้มีโอกาสเข้าถึงความรู้ได้อย่างหลากหลายรูปแบบ
ปรัชญาการศึกษา
ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
จึงเป็นการจัดการศึกษาตามแนวทาง
พิพัฒนาการนิยม (Progressivism)คือการพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน
เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
และปรับตัวได้ดีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือ ในการพัฒนาผู้เรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ของการเรียนรู้ และพัฒนาจากความต้องการของผู้เรียน ผ่านกระบวนการแก้
ปัญหาและค้นคว้าด้วยตนเอง กระบวนการที่ต้องลงมือปฏิบัติทั้งในและนอกห้องเรียน
ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน และจากแนวคิดที่ว่าการพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง
การเรียนรู้จึงไม่ได้หยุดอยู่เพียงภายในมหาวิทยาลัยแต่จะดำเนินไปตลอดชีวิต
การจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยจึงมุ่งเน้นถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยจากหลักการดังกล่าวข้างต้นนำสู่การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์
(Outcome Based Education)โดยการพัฒนาหลักสูตร กระบวน การจัดการเรียนรู้
ที่ มหาวิทยาลัยเชื่อว่าสามารถตอบสนองหลักการดังกล่าวได้ คือ
การจัดการเรียนรู้ที่ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ
(Active learning)ที่หลากหลาย
โดยเฉพาะการใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning)การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based
Learning)และ การเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service
Learning)และยึดพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนก
“ขอให้ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” เป็นแนวทางในการดำเนินการ
เกี่ยวกับเรา
ประวัติความเป็นความเป็นมาของวิทยาลัยนานาชาติยางพาราไทย-จีน
สภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีมติเห็นชอบให้มีการจัดตั้งวิทยาลัยนานาชาติยางพาราไทย-จีน โดยมหาวิทยาลัยฯ ได้จัดทำบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding) และบันทึกข้อตกลง (Agreement on a Cooperatively-Run) ร่วมกับมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชิงเต่า (Qingdao University of Science and Technology) และบริษัทรับเบอร์วัลเล่ย์กรุ๊ปจำกัด (Rubber Valley Group Co. Ltd.) ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเพื่อจัดทำหลักสูตรทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยาง รวมถึงการให้บริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคม
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมและเทคโนโลยียาง (หลักสูตรนานาชาติ) ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2560 และทำการเปิดสอนเดือนสิงหาคม 2560 เป็นต้นมา นักศึกษาที่มีคุณสมบัติตามข้อกำหนดจะสามารถไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชิงเต่าในชั้นปีที่ 3 และ 4 และจะได้รับปริญญาจากทั้งสองมหาวิทยาลัย (Double degree) สำหรับนักศึกษาที่เลือกเรียนที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ตลอดหลักสูตร 4 ปี จะได้รับปริญญาใบเดียวจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีการใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และใช้ภาษาจีนในการเรียนที่มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชิงเต่า
ความร่วมมือ
โครงการจัดตั้งวิทยาลัยนานาชาติยางพาราไทย-จีนได้หาความร่วมมือเพิ่มเติมกับมหาวิทยาลัยในประเทศมาเลเซีย
ซึ่งปัจจุบันได้มีจัดโครงการแลกเปลี่ยนอาจารย์ผู้สอนและแลกเปลี่ยนกิจกรรมนักศึกษาร่วมกับหลักสูตรวิศวกรรมพอลิเมอร์สำนักวิชาวิศวกรรมวัสดุ
มหาวิทยาลัยมาเลเซีย เปอร์ลิส (School of
Materials Engineering,Universiti Malaysia Perlis) ซึ่งในอนาคตจะมีการขยายความร่วมมือถึงการแลกเปลี่ยนนักศึกษา บุคลากร และงานวิจัยอีกด้วย